
"รถยนต์" เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เนื่องจากความสะดวกสบาย จะไปไหนมาไหนก็ไม่ต้องคอยรถประจำทางให้เสียเวลา จึงทำให้คนหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้น โดยวิธีการเลือกรถของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเรื่องของราคา คุณสมบัติของรถ ความสวยงาม หรือแม้กระทั่งสีรถ สีรถยนต์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการทำให้รถยนต์แต่ละคันมีความสวยงาม และสร้างเสน่ห์ให้แก่รถยนต์ที่เราขับขี่ เปรียบเสมือนเสื้อผ้าประดับกายที่มีสีสันก็ดูน่าชวนมอง สีรถยนต์จึงความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสมรรถนะเครื่องยนต์หรือช่วงล่างเลย ดังนั้น Gapcarwash Detail Center มีบทความเล็กน้อยมาให้ทุกท่านอ่านเพื่อทำความรู้จักเกี่ยวกับสีรถยนต์กันเพื่อให้ผู้ขับขี่ทั้งหลายมีความเข้าใจมากขึ้น
การแบ่งประเภทของสี จะแบ่งตามการใช้งานโดยจะเริ่มจากชั้นล่างสุดนะครับ
- รองพื้น หมายถึง ชั้นแรกสุด ที่พ่นให้เคลือบติดกับวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุดส่วนมากสีพวกนี้ให้ดีต้องเป็นสีตัดอ๊อกซเจนครับ ถึงจะไม่เกิดสนิมเป็นแน่แท้ แต่หายากหน่อยครับเพราะส่วนมากเขาจะเอาไว้ใช้กับเรือเดินทะเลครับ
- สีจริง หรือ สีทับหน้า (Top coat or color coat)
เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพึ่งพอใจของแต่ละบุคคลนะครับ - สีทับหน้าประเภทใสหรือ แล็คเกอร์ ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน ริ้วรอยที่จะแก้ไขได้นั้นด้วยการขัด จะอยู่ที่ผิวชั้นแล๊คเกอร์เท่านั้นครับ แต่ถ้าทะลุชั้นแล๊คเกอร์ไปแล้ว หมดสิทธิแก้ไขไปตามระเบียบครับ แต่จะทำได้แค่ทำให้ดูจางๆ ลงไปหรือเลือนลางจากมองเห็นได้ชัดก็จะมองไม่ค่อยเห็นนะครับ ก็จะขึ้นอยู่กับที่ฝีมือและเทคนิคของแต่ละคนครับ ( ผมไม่ขอพูดถึงเรื่องความเป็นช่างนะครับ 555555 )
สีพ่นรถยนต์ เป็นวัสดุที่นำมาเคลือบงานครั้งสุดท้าย เพื่อเพิ่มความสวยงาม (Beauty) ความทนทาน (Durability) ให้แก่งานที่ทำการพ่นนั้น สีต่างๆ ที่ใช้พ่นมีอิทธิพลเกี่ยวกับรูปร่างของรถยนต์มาก สีบางชนิดพ่นกับรถยนต์ใหม่ได้สวยงาม แต่เมื่อนำมาพ่นกับรถยนต์รุ่นเก่าก็อาจไม่เหมาะสมได้ ดังนั้นจึงควรให้เจ้าของรถยนต์เลือกสีเองตามความพอใจ ซึ่งพอแบ่งสีพ่นรถยนต์ออกได้ดังนี้
1. สีพ่นรถยนต์แห้งเร็วหรือสีแลคเกอร์ (Lacquer)
ซึ่งจะเป็นสีพ่นรถยนต์ทับหน้าครั้งสุดท้าย ทำให้เกิดความสวยงาม ความทนทาน เป็นชนิดสีพ่นแห้งเร็ว ซึ่งจะแบ่งสีพ่นรถยนต์แห้งเร็วออกได้เป็นจำพวกแต่จะมีความแต่ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ คือ
1.1 สีพ่นไนโตรเซลลูโลส แลกเกอร์ (Nitro cellulose lacquer)
1.2 สีพ่นอะคริลิคแลคเกอร์ (Acrylic lacquer)
สีพ่นรถยนต์ไนโตรเซลลูโลส แลคเกอร์ (Nitro cellulose lacquer)หรือบ้างครั้งจะเรียกกันว่า
เซลลูโลสไนเตรท เป็นสีพ่นแห้งเร็วที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งจะให้ความงามและความทนทานสูง สีพ่นไนโตรเซลลูโลส เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก (Thermoplasties)
ซึ่งจะเป็นสีพ่นรถยนต์ทับหน้าครั้งสุดท้าย ทำให้เกิดความสวยงาม ความทนทาน เป็นชนิดสีพ่นแห้งเร็ว ซึ่งจะแบ่งสีพ่นรถยนต์แห้งเร็วออกได้เป็นจำพวกแต่จะมีความแต่ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ คือ
1.1 สีพ่นไนโตรเซลลูโลส แลกเกอร์ (Nitro cellulose lacquer)
1.2 สีพ่นอะคริลิคแลคเกอร์ (Acrylic lacquer)
สีพ่นรถยนต์ไนโตรเซลลูโลส แลคเกอร์ (Nitro cellulose lacquer)หรือบ้างครั้งจะเรียกกันว่า
เซลลูโลสไนเตรท เป็นสีพ่นแห้งเร็วที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งจะให้ความงามและความทนทานสูง สีพ่นไนโตรเซลลูโลส เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก (Thermoplasties)
การพ่นโดยการใช้ความร้อน (Hot spray) การเพิ่มพิมส์สีไนโตรเซลลูโลส แลคเกอร์ให้หนาสามารถทำได้โดยการพ่นสีแบบใช้ความร้อน ซึ่งสามารถเพิ่มเนื้อแลกเกอร์ขึ้นได้ถึง 30-40 % วิธีเพิ่มความร้อนจะทำให้แล๊คเกอร์ใสพอพ่นได้ อุณหภูมิความร้อนที่ใช้ 160 F ถ้าอุณหภูมิความร้อนไม่ถึง 160 F หรือต่ำกว่า 10% จะทำให้สีแล๊คเกอร์มีความหนืด (viscosity) สูงขึ้นขณะพ่นผลลัพธ์ทำให้การพ่นของสีเป็นฝอยไม่ถูกต้อง แต่ถ้าสีแล๊คเกอร์ร้อนมากเกินไปในการพ่นนานๆ อาจทำให้แล๊คเกอร์ละลายหรือลุกไหม้ได้ ( อุณหภูมิ 160 F สามารถทำการพ่นได้หลายชั่วโมงโดยไม่ทำให้แล๊คเกอร์เสื่อมคุณภาพ ) การพ่นสีโดยความร้อนจะลดจำนวนครั้งในการพ่นลง
การได้เปรียบเชิงเทคนิคของสีพ่นไนโตรเซลลูโลส แลคเกอร์
1. สีจะแห้งเร็วในเวลา 20 - 40 นาที
2. ปล่อยทิ้งไว้ในเวลา 36 ชั่วโมงก็สามารถขัดสีได้
3. สามารถซ่อมสีได้อย่างดีไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์การอบสี
4. การเกาะตัวดีมีความทนทานสูง
5. สามารถทนต่อน้ำมันแก๊สโซลีน ( เบนซินดี ๆ นี้เองครับ ), น้ำมันเครื่อง, จารบี, สบู่ , แอลกอฮอล์เจือจาง, กรดอ่อน และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
6.สามารถควบคุมคุณภาพในการผลิตได้
7. ทนต่ออุณหภูมิสูงได้โดยสีไม่อ่อนตัว
8. มีความเงา
9. ขัดมันได้ง่าย
ข้อเสียของไนโตรเซลลูโลส แลคเกอร์
1. ไม่สามารถทาสีด้วยแปรงได้
2. การพ่นสีแลกเกอร์โดยไม่ใช้ความร้อนช่วยจะทำให้พ่นหลายชั้น
3. ถ้าพ่นสีแลคเกอร์บนน้ำมันวานิสหรือสีน้ำมัน จะเกิดการลอกพองออก
4. ถ้านำสีแลกเกอร์ไปพ่นไม้ แล้วนำไปใช้ภายนอก สีจะไม่มีความทนทาน
1. สีจะแห้งเร็วในเวลา 20 - 40 นาที
2. ปล่อยทิ้งไว้ในเวลา 36 ชั่วโมงก็สามารถขัดสีได้
3. สามารถซ่อมสีได้อย่างดีไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์การอบสี
4. การเกาะตัวดีมีความทนทานสูง
5. สามารถทนต่อน้ำมันแก๊สโซลีน ( เบนซินดี ๆ นี้เองครับ ), น้ำมันเครื่อง, จารบี, สบู่ , แอลกอฮอล์เจือจาง, กรดอ่อน และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
6.สามารถควบคุมคุณภาพในการผลิตได้
7. ทนต่ออุณหภูมิสูงได้โดยสีไม่อ่อนตัว
8. มีความเงา
9. ขัดมันได้ง่าย
ข้อเสียของไนโตรเซลลูโลส แลคเกอร์
1. ไม่สามารถทาสีด้วยแปรงได้
2. การพ่นสีแลกเกอร์โดยไม่ใช้ความร้อนช่วยจะทำให้พ่นหลายชั้น
3. ถ้าพ่นสีแลคเกอร์บนน้ำมันวานิสหรือสีน้ำมัน จะเกิดการลอกพองออก
4. ถ้านำสีแลกเกอร์ไปพ่นไม้ แล้วนำไปใช้ภายนอก สีจะไม่มีความทนทาน
1.2 สีพ่นรถยนต์อะคริลิค แลคเกอร์ (Acrylic lacquer)
อะคริลิคแลกเกอร์ เป็นสีพ่นรถยนต์แห้งเร็วชนิดหนึ่ง บางครั้งก็เรียกอะครีลิค รีซิน (Acrylic Resin) หรือ (Polymethyl methacrylate) สีพ่นอะคริลิคเป็นพลาสติกประเภทเทอร์โม พลาสติก (Thermoplastic) อะครีลิครู้จักกันดีในชื่อการค้า เช่น เพลคซิกล๊าส (piexiglas), ลูไซด์ (Lucite) โพลีกล๊าส (Polyglas) เดียวอะคริด (Duracryl) เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของอะคริลิค แลคเกอร์
เป็นของเหลว มีความใส เมื่อแห้งแล้วมีเงาแวววาว ไม่มีไคลสีเกิดขึ้นที่ผิว มีความแข็งแรงพอสมควร เป็นรอยขีดข่วนง่าย ทนแสงอุลตราไวโอเลทได้ดี เป็นฉนวนไฟฟ้าดีมาก ทนสารเคมีได้พอสมควร ไม่ควรให้ถูกน้ำมันเบนซิน, อาซิโทน, คลอโรฟอร์ม, สเปรย์น้ำหอม และพวกกรดอ๊อกซิไดซิง ( oxidizing Acid ) มีความต้านทานต่อความชื้น จึงเหมาะที่จะใช้เคลือบโลหะและนิยมมากในการเคลือบ ทองเหลือง, ทองแดง, อลูมิเนียม เมื่อขัดจะขึ้นมัน และอะครีลิค แลกเกอร์ จะไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อสี จึงทำให้สามารถผสมกับผงบรอนซ์ทอง และบรอนซ์เงิน
อะคริลิคแลกเกอร์ เป็นสีพ่นรถยนต์แห้งเร็วชนิดหนึ่ง บางครั้งก็เรียกอะครีลิค รีซิน (Acrylic Resin) หรือ (Polymethyl methacrylate) สีพ่นอะคริลิคเป็นพลาสติกประเภทเทอร์โม พลาสติก (Thermoplastic) อะครีลิครู้จักกันดีในชื่อการค้า เช่น เพลคซิกล๊าส (piexiglas), ลูไซด์ (Lucite) โพลีกล๊าส (Polyglas) เดียวอะคริด (Duracryl) เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของอะคริลิค แลคเกอร์
เป็นของเหลว มีความใส เมื่อแห้งแล้วมีเงาแวววาว ไม่มีไคลสีเกิดขึ้นที่ผิว มีความแข็งแรงพอสมควร เป็นรอยขีดข่วนง่าย ทนแสงอุลตราไวโอเลทได้ดี เป็นฉนวนไฟฟ้าดีมาก ทนสารเคมีได้พอสมควร ไม่ควรให้ถูกน้ำมันเบนซิน, อาซิโทน, คลอโรฟอร์ม, สเปรย์น้ำหอม และพวกกรดอ๊อกซิไดซิง ( oxidizing Acid ) มีความต้านทานต่อความชื้น จึงเหมาะที่จะใช้เคลือบโลหะและนิยมมากในการเคลือบ ทองเหลือง, ทองแดง, อลูมิเนียม เมื่อขัดจะขึ้นมัน และอะครีลิค แลกเกอร์ จะไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อสี จึงทำให้สามารถผสมกับผงบรอนซ์ทอง และบรอนซ์เงิน
สีพ่นรถยนต์แห้งช้าหรือสีอีนาเมล เป็นสีพ่นรถยนต์ครั้งสุดท้าย ให้ความสวยงาม ความทนทานสูง เป็นสีชนิดแห้งช้า มีทั้งชนิดอบด้วยความร้อน และไม่อบ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
2.1 สีแห้งช้าแอลคิด (Alkyd Enamel)
2.2 สีแห้งช้าอะคริลิค (Acrylic Enamel)
2.3 สีแห้งช้าโปลียูเรเทน (Polyurethane Enamel)
2.1 สีแห้งช้า แอลคิด (Alkyd Enamel) สีแห้งช้าแอลคิด เป็นสีพ่นรถยนต์ชนิดแห้งช้า บางครั้งเรียกแอลคิด รีซิน (Alkyd Resin) หรือเรียกสีสังเคราะห์แห้งช้า (synthetic Enamel) ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1926 สีแอลคิด เมื่อพ่นเสร็จแล้วจะเกิดความเงางาม (gloss) ขึ้นเอง การแห้งของสีแห้งช้าอะคริลิค เป็นไป 2 สถานะคือ
1. สีแห้งช้าอะคริลิค แห้งโดยตัวทำละลาย (solvent) หรือ สีรีดิวเซอร์ (Ruducer) ระเหยออกไปจากสีที่พ่นลงบนงาน
2. การแห้งของสีโดยความร้อน และออกซิเจนในอากาศเข้าทำปฏิกิริยารวมตัวกับสี ทำให้สีแห้งและแข็งตัวอย่างแท้จริง
การแห้งของสีแห้งช้าอะคริลิค เป็นไป 2 สถานะคือ
1. สีแห้งช้าอะคริลิค แห้งโดยตัวทำละลาย (solvent) หรือ สีรีดิวเซอร์ (Ruducer) ระเหยออกไปจากสีที่พ่นลงบนงาน
2. การแห้งของสีโดยความร้อน และออกซิเจนในอากาศเข้าทำปฏิกิริยารวมตัวกับสี ทำให้สีแห้งและแข็งตัวอย่างแท้จริง
2.1 สีแห้งช้าแอลคิด (Alkyd Enamel)
2.2 สีแห้งช้าอะคริลิค (Acrylic Enamel)
2.3 สีแห้งช้าโปลียูเรเทน (Polyurethane Enamel)
2.1 สีแห้งช้า แอลคิด (Alkyd Enamel) สีแห้งช้าแอลคิด เป็นสีพ่นรถยนต์ชนิดแห้งช้า บางครั้งเรียกแอลคิด รีซิน (Alkyd Resin) หรือเรียกสีสังเคราะห์แห้งช้า (synthetic Enamel) ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1926 สีแอลคิด เมื่อพ่นเสร็จแล้วจะเกิดความเงางาม (gloss) ขึ้นเอง การแห้งของสีแห้งช้าอะคริลิค เป็นไป 2 สถานะคือ
1. สีแห้งช้าอะคริลิค แห้งโดยตัวทำละลาย (solvent) หรือ สีรีดิวเซอร์ (Ruducer) ระเหยออกไปจากสีที่พ่นลงบนงาน
2. การแห้งของสีโดยความร้อน และออกซิเจนในอากาศเข้าทำปฏิกิริยารวมตัวกับสี ทำให้สีแห้งและแข็งตัวอย่างแท้จริง
การแห้งของสีแห้งช้าอะคริลิค เป็นไป 2 สถานะคือ
1. สีแห้งช้าอะคริลิค แห้งโดยตัวทำละลาย (solvent) หรือ สีรีดิวเซอร์ (Ruducer) ระเหยออกไปจากสีที่พ่นลงบนงาน
2. การแห้งของสีโดยความร้อน และออกซิเจนในอากาศเข้าทำปฏิกิริยารวมตัวกับสี ทำให้สีแห้งและแข็งตัวอย่างแท้จริง
รอยขนแมว คือรอยข่วนบางๆ ลักษณะเป็นวงกลม ส่วนใหญ่เกิดจากการล้างรถด้วยผ้าหรือฟองน้ำที่สกปรก มีฝุ่นฝังอยู่ หรือ ล้างโดยเครื่องล้างรถอัตโนมัติที่ใช้ใยเป็นเส้นๆปั่นรอบตัวรถ จากการทดลองน้ำยากับรอยขนแมวแบบนี้ น้ำยาขัดสีทั่วไปที่วางขายสามารถลบได้ แต่ถ้าเป็นรอยลึกลงไป ที่น้ำยาขัดทั่วไปไม่สามารถลบได้ ก็ต้องใช้น้ำยาขัดเกรดสูงกว่า มีข้อแม้ว่ารอยนั้นต้องไม่กินลึกลงไปถึงเนื้อสี เพราะชั้นนอกของสีรถจะมี clearcoat อยู่ ถ้ารอยกินลึกมาก น้ำยาขัดที่ดีที่สุดก็อาจทำได้แค่ให้รอยจางลงเท่านั้น
วิธีป้องกัน
- อย่าใช้ฟองน้ำล้างรถเป็นอันขาด ให้ดีขนาดไหนก็ตามแต่ เพราะฟองน้ำเป็นตัวเก็บเม็ดทรายดี ๆนี้เอง ควรที่จะใช้ผ้าขนหนูพร้อมกับน้ำฉีดตามกันไปเพื่อให้น้ำนั้นล้างเศษสิ่งสกปรก ทั้งไปในตัว และแยกส่วนที่ใช้กับล้อและชายล่างของรถ ซุ้มล้อ ควรจะแยกออกจากส่วนที่จะมาล้างตัวสีรถ
- ล้างรถเสร็จควรเช็ดด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ที่สะอาดหรือผ้าขนหนู และ ต้องแยกส่วนในการเช็ดด้วยเหมือนกัน และ ควรแยกกันชัดเจน ว่าผืนไหนเช็ดสีรถส่วนบน ผืนไหนเช็ดแมค เช็ดชายล่างรถขอบประตู และ ต้องซักทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ
- รักษาความสะอาดของสีรถสม่ำเสมอ ( อันนี้พูดยากนะครับแต่ก็ต้องทำให้ได้ครับ ) อย่าให้ฝุ่นมาเกาะ หนาเตอะ เพราะฝุ่นคือสาเหตุหลักของรอยขนแมว
- เคลือบสีรถทุกครั้งหลังล้างรถเสร็จ การเคลือบสีรถเป็นการสร้างชั้นฟิลม์บางๆ หุ้มสีรถไว้ เพื่อเป็นเกราะป้องกันริ้วรอย ได้ในระดับหนึ่ง คุณภาพขึ้นอยู่กับส่วนประสม และ ส่วนประกอบ ยิ่งกันน้ำ ยิ่งอยู่นาน ยิ่งแพง อย่างเช่น เคลือบแก้วไม่ได้ช่วยอะไรได้แต่เงากับดูลื่นในเวลาเอาน้ำฉีดล้างเท่านั้น อย่างเดียวครับ แต่อย่าไปเชื่อว่าเคลือบแก้วครั้งเดียวจะป้องกันตลอดไปนะแถมยังจะเป็นตัวทำ ลายชั้นแล๊กเกอร์ของรถอีกต่างหากด้วยซ้ำเมื่อน้ำยาเสื่อมสภาพครับ ( มันจะคุ้มกันไหมเนี่ยครับที่ทำไป ) การเคลือบหรือการลงแว๊กแบบ สเปรย์ ควิกไดร์ ยิ่งบ่อยยิ่งดี ตามกำลังทรัพย์ สารเคลือบที่แนะนำ ก็เป็นพวกที่มีส่วนผสมของ polymer เช่น Teflon ส่วนพวกคาร์นูบาร์แว๊ก จะไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ครับ
- อย่า ใช้ผ้าคลุมรถ เป็นอันขาดครับ ยอมเอารถตากแดดดีกว่าเอาผ้าคลุมครับ เพราะการเสียดสีระหว่างผ้าคลุมกับสีรถและ ฝุ่น จะทำให้รถเป็นรอยได้เป็นอย่างดีครับ ถ้าอยากได้ผ้าคลุมกันจริง ๆ จะต้องสั่งตัดเป็นผ้ายืดด้านในเป็นขนบาง ๆ คล้าย ๆ กับผ้าไม่โครไฟเบอร์ครับและต้องแนบสนิทกับตัวรถเลยทั้งคันนะครับ นั้นละครับดีที่สุดแต่เรื่องของราคาไม่อยากจะบอกเลยว่าแพงโครตครับ 55555
- อย่าใช้ไม้ม๊อบที่บอกว่าดูดฝุ่นดีนักดีหนาเนี่ย อย่าใช่โดยเด็ดขาดเพราะการปัดฝุ่นนั้นรถ จะลากเม็ดฝุ่น เม็ดทราย ไปกับสีรถ เหมือนกับการเอากระดาษทรายไปถูที่สีรถใช้ไม้ขนไก่จะดูดีกว่ากันเยอะมากครับแต่ถ้าเป็นไปได้ ล้างรถได้จะดีที่สุดครับ
รถสีเข้ม หรือ สีดำ เป็นสีที่ดูแลยากที่สุดแล้วหากเจ้าของไม่เอาใจใส่ รถจะเป็นริ้วรอย หมอง และ ไม่เงางามเหมือนตอนออกใหม่ๆ วิธีแก้ไข คือ ไปเข้าคอส ขัดเคลือบสี อย่างถูกวิธี ส่วนตัวผมแล้ว การขัด กับ การเคลือบ ผมจะแยกกัน การขัดสี ที่จริงคือการขัดผิวชั้นแลคเกอร์ของรถ ที่เป็น ริ้วรอย ไม่เรียบเสมอกันออกไปให้เสมอราบเรียบเหมือนเดิม สีรถก็จะกลับมาดูใหม่และเงางามอีกครั้งแต่ขณะเดียวกัน ความหนาของชั้นแล๊คเกอร์ก็จะบางลงเรื่อยๆ การเคลือบ คือการใช้น้ำยาเคลือบสี เคลือบสีรถ และ การล้างรถที่ทุกวิธี เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันและช่วยยืดอายุสีรถเรา แต่ร้านที่ทำต้องมีความรู้เรื่องการดูแลสีรถจริงๆ มิเช่นนั้น จะเกิด ริ้ว วงๆ(swirl) เมื่อจอดรถตากแดดจะเห็นได้ชัด เกิดจากการขัดรถไม่ถูกวิธี
รถสีขาวและสีเงิน
- วิธีการล้างรถและทำความสะอาดเหมือนสีดำ
- -ยางมะตอย รถสีขาว รวมไปถึงรถสีอ่อนอื่นๆ จะเห็นรอยยางมะตอย เป็น จุดๆ เล็กๆ ตามชายล่างของรถ รวมไปถึง ข้างประตู วิธีการเอาออก ล้างรถ และ เช็ดรถให้สะอาด ใช้น้ำมันสน ชุบผ้าไมโครไฟเบอร์ เช็ด จนกว่าแต่ละจุดจะสะอาด แล้วใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์แห้เช็ดตามทันที อย่าทิ้งไว้เด็ดขาดรถจะด่าง
- ความเหลือง และ ความหมอง ป้องกันด้วย การล้างรถบ่อยๆ อย่าให้รถเปื้อนเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะคราบโคลนแดงๆ ตอนหน้าฝน
- เคลือบสีรถบ่อยๆ เช่นเดียวกันรถสีดำ เพื่อป้องกันคราบสกปรกมาเกาะฝังแน่นที่ตัวสีรถ ทำให้รถดูสีใส และ เงางาม
- เมื่อรถหมองแล้ว แก้ไขด้วยการขัดเคลือบสีเหมือนกัน
ขี้นก กับ ยางไม้ คือฝันร้ายของสีรถ เมื่อโดนนกขี้ใส่ นำน้ำสะอาดมาล้างทันที อย่ารอให้กรดยูริกในขี้นกมากัดกร่อนชั้นแล็คเกอร์ มิเช่นนั้นรถจะเป็นรอยขี้นกด่างๆ ล้าง ยังไงก็ล้างไม่ออก ที่ล้างไม่ออก ไม่ได้เป็นคราบสกปรก แต่เป็นแผลของชั้นแล็คเกอร์ที่ถูกกรดยูริกกัดกร่อน
ขี้นก จะมีส่วนประกอบของกรดอ่อนๆ ที่ติดมาจากกระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งอานุภาพของมันก็ไม่ร้ายแรงพอจะกัดกร่อนเหล็กได้เหรอครับ แต่มันก็รุนแรงพอจะทำให้สีรถของเราพังแบบไม่มีชิ้นดีได้เหมือนกัน
ขี้นก จะมีส่วนประกอบของกรดอ่อนๆ ที่ติดมาจากกระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งอานุภาพของมันก็ไม่ร้ายแรงพอจะกัดกร่อนเหล็กได้เหรอครับ แต่มันก็รุนแรงพอจะทำให้สีรถของเราพังแบบไม่มีชิ้นดีได้เหมือนกัน
- อย่า ปล่อยทิ้งไว้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้มันจะทำให้สีรถเราด่างได้ เมื่อนกขี้ใส่รถของเรา ควรใช้ผ้าที่มีเนื้อนิ่ม หรือกระดาษทิชชูที่มีเนื้อที่ในการหยิบ ห้ามถูเด็ดขาด
- กรณีขี้นก แห้ง ให้เอาน้ำมาเท่ใส่ตรงมูลนกก่อนเลยครับเพื่อให้เกิดการอ่อนตัวแล้วค่อยใช้ผ้า ที่มีเนื้อนิ่ม หรือกระดาษทิชชู เหมือนขั้นตอนแรก แต่ให้เพิ่มน้ำยาทำความสะอาดมาทาทิ้งไว้ สักพักและเช็ด ออก ทางที่อย่าปล่อยให้ ขี้นกแห้ง เพราะมันอาจเกิดกัดกล่อนของชั้นแล็คเกอร์แล้ว
- อย่า ลืมล้างไม้ล้างมือ เพื่อสุขภาพของตัวเองด้วยนะครับ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากไข้หวัดขี้นก หลังจากคุณจัดการมันจากรถคุณไปแล้ว 555555
- ล้างรถ ถ้าคุณพอมีเวลาอยู่บ้าง การล้างรถถือเป็นสิ่งดีที่สุดในการขจัดคราบสกปรกออกจากรถ และขอแนะนำหลังจากล้างเสร็จแล้ว ควรเคลือบแว๊กเคลือบสีลงไป เพื่อปกป้องสภาพสีตัวรถของเราเข้าไปอีกนะครับ
- เปลี่ยนที่ที่จอดรถ ถ้าจอดรถทิ้งไว้แล้วต้องโดนนกขี้ใส่เป็นประจำบ่อยๆ ควรหาที่จอดใหม่จะดีกว่านะครับ ทีนี้ละครับจะได้ไม่มาต้องนั่งเครียดกับปัญหาขี้นกขี้ใส่รถเรา ในเมื่อเรารู้หนทางการแก้ไขแล้ว ที่สำคัญอย่าปล่อยละเลยทิ้งไว้จะดีที่สุดครับ
บทความบทนี้อาจจะเป็นประโยนช์ในการดูแลรถยนต์ที่ท่านรักมากที่สุดอีกวิธีนึ่งนะครับ หากมีข้อผิดพลาดประการใดนั้น ผมขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ ด้วยความปรารถนาดีและห่วงใยในรถที่ท่านรัก
By. โต้ง GAPCARWASH DETAILCENTER
By. โต้ง GAPCARWASH DETAILCENTER